Loading...

สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Office of the Minister Ministry of Natural Resources and Environment

ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN
ภาพ5

ผช.รมว. ทส. ติดตามการบำบัดน้ำเสียศูนย์ราชการฯ เตรียมใช้เป็นคู่มือต้นแบบ

ผช.รมว. ทส. ติดตามการบำบัดน้ำเสียศูนย์ราชการฯ เตรียมใช้เป็นคู่มือต้นแบบ

    วันที่ 8 กันยายน 2563 นายนพดล พลเสน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ผช.รมว.ทส.)  พร้อมด้วยนายสมชาย ทรงประกอบ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และคณะเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และตรวจติดตามการบำบัดน้ำเสียของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พร้อมรับฟังผลการพัฒนาด้านการจัดการน้ำเสียของศูนย์ราชการ โดยมี ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์จำกัด ให้การต้อนรับและนำตรวจเยี่ยมศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มีบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพศ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังจัดตั้งให้บริหารอาคารของศูนย์ราชการฯ และดูแลระบบบำบัดน้ำเสียในภาพรวม เป็นกลุ่มอาคาร 8 หลัง ประกอบด้วยอาคารจอดรถ 2 หลัง อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) อาคารศูนย์ประชุมสี่เหลี่ยม อาคารศูนย์ประชุมทรงกลม และอาคารธนพิพัฒน์ รวมพื้นที่ใช้สอย 658,338 ตารางเมตร เข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษอาคารประเภท ก ตามพ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่ต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม

    มีน้ำเสียจากอาคารต่างๆภายในพื้นที่ ประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์จำนวน 1 ชุด ขนาด 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดได้มาตรฐานแล้ว ร้อยละ 65 จะระบายลงสู่ท่อระบายน้ำในพื้นที่ก่อนลงคลองบางตลาด และอีกร้อยละ 35 จะนำมาปรับปรุงคุณน้ำน้ำอีกขั้นหนึ่งโดยผ่านถังกรองทรายและคาร์บอน เติมคลอรีนก่อนนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างพื้นและถนนและผลการตรวจสอบน้ำทิ้งของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเมื่อ 1 มิถุนายน 2563 มีค่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้ ธพส. ให้ความสำคัญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และมีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะเป็นหน่วยงานนำร่อง และเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นได้เข้ามาศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียจากอาคารต่อไป

    ศูนย์ราชการฯ เป็น 1 ใน 197 หน่วยงานที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการ“อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2563  ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม ให้องค์ความรู้คำแนะนำ เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานมีการจัดการน้ำเสียจากอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย และระบายน้ำทิ้งเป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างที่ดีในการร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมและหากหน่วยงานใดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินของโครงการ จะได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” ดังนั้น จึงได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจในความมุ่งมั่นพัฒนาการบริหารจัดการน้ำเสียของศูนย์ราชการฯ และตรวจติดตามผลการพัฒนาเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่างๆเพิ่มเติมในการปรับปรุงแก้ไขดียิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนโดยรอบ

    นายนพดล กล่าวว่า ตามที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) มอบหมายให้ตนในฐานะ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ทส.มาติดตามผล จากการที่ได้วางนโยบายไว้เมื่อต้นปี โดยได้ประกาศไว้ว่าจะมาตรวจการบำบัดน้ำเสียอีกครั้ง ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อใช้เป็นต้นแบบ เพราะผลจาก 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้หน่วยราชการมีการกระตือรือล้น โดยเฉพาะที่ศูนย์ราชการฯ มีการพัฒนาการที่ดีขึ้น จากหน่วยราชการกว่า 100 หน่วย ในอดีตมีถึง 70 หน่วยงานไม่ผ่านเกณท์ ทำให้เห็นว่าการกระตุ้นหรือการติดตามงานของกรมควบคุมมลพิษ ต้องเอาใจใส่เรื่องพวกนี้มากขึ้น ประกอบกับการให้ความร่วมมือของหน่วยราชการ ที่เกินมาตรฐาน คือเกินเกณท์ขนาดเล็กไปสู่ขนาดใหญ่ ต้องเอาใจใส่เหมือนกับศูนย์ราชการฯ 

    นายนพดล กล่าวอีกว่า ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการขณะนี้ จากผ่านเกณท์ขนาดกลางๆ ไปสู่การผ่านเกณท์ระดับเหรียญทอง ซึ่งพอใจระดับหนึ่ง แต่จากนี้ไปผลสัมฤทธิ์ของงานจะต้องมีการจัดทำคู่มือ ให้กับหน่วยงานอื่นนำไปใช้เป็นต้นแบบ ในการจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะศูนย์ราชการฯใหญ่ทั่วประเทศ โรงพยาบาล รวมทั้งมหาวิทยาลัย ต้องใช้คู่มือต้นแบบว่าการได้เหรียญทองต้องทำอย่างไร โดยกรมควบคุมมลพิษ และศูนย์ราชการฯ จะจัดทำคู่มือต้นแบบเหรียญทองด้วยกัน 

    

    

แกลเลอรี่